Icon

ประวัติโดยย่อโรงเรียน

วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส ขออนุญาตจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดย      บริษัท อุบลอริยะทรัพย์จำกัด และมีนายสิทธิชัย วงศ์เพ็ญ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบ      อนุญาต นางสาวสุภัทราภรณ์ ช้างสาร เป็นผู้จัดการวิทยาลัยฯ พร้อมทีมงานผู้บริหาร    ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะครู/อาจารย์ และผู้นำชุมชน ในเขตอำเภอลืออำนาจ และอำเภอ      ใกล้เคียง เห็นพ้องให้มีการดำเนินการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัสแห่งนี้      เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าในสายอาชีพสมัย    ใหม่ สำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างทักษะขั้นสูงในสาย
  อาชีพนั้นๆ เพื่อเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศกลุ่มอาเซียนและเพื่อการมีงานทำ ภาย    ใต้การเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่

ชื่อประเภท ระดับการศึกษา

ข้อ ๑ สถานศึกษานี้มีชื่อว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส
ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ SMART PLUS TECHNOLOGICAL COLLEGE
อักษรย่อภาษาไทย ส.ม.พ.
อักษรย่อภาษาอังกฤษ S.M.P.
เปิดสอนประเภท อาชีวศึกษา
ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ความจุนักเรียน หลักสูตร ปวช. และหลักสูตร ปวส. รอบละ 12 ห้อง
ความจุนักเรียน ห้องละ 45 คน รวมความจุนักเรียน รอบละ 540 คน
ข้อ ๒ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙ หมู่ ๖ ตำบลอำนาจ อำเภอ ลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ
โทรศัพท์ ๐๘๗ ๕๔๕๐๙๖๑
ข้อ ๓ เครื่องหมายตราของ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส ภายในวงกลมประกอบด้วย
รูปสัญลักษณ์ของอาคารและต้นไม้สีเขียว และอักษรย่อตัวภาษาอังกฤษ S.M.P. ล้อมด้วยวงกลมสีเขียวสองวง
มีตัวหนังสือชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส อยู่ภายในด้านบน
พร้อมสัญลักษณ์ wifi สองด้านและ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ภายในด้านล่าง
ข้อ ๔ รายละเอียดแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของสถานศึกษาปรากฏตามเอกสารแนบท้ายตราสารจัดตั้ง

วัตถุประสงค์

ข้อ ๕ วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(๑) จัดการศึกษาในประเภทอาชีวศึกษา คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และ หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) ให้บริการเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน
ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรของวิทยาลัยฯ
(๓) เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพ (อาชีวศึกษา) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสถาบัน วิชาชีพระดับสากล
(๔) เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรต่างๆ
เพื่อสร้างและ พัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
(๕) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่นำ ไปปฏิบัติต่องานในอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถเลือกวิธีการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพได้เหมาะสมกับตนเอง
(๖) เพื่อสร้างสรรค์ ความเจริญ ต่อชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติ
(๗) เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีปัญญา มีทักษะในการจัดการ มีความคิดสร้างสรรค์ใฝ่เรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาคุณภาพชีวิตและประกอบอาชีพ

ระเบียบการของวิทยาลัย

ข้อ ๒๖ ระเบียบเกี่ยวกับการรับสมัครนักเรียน
(๑) รับสมัครทั้งชายและหญิง
(๒) กำหนดอายุตั้งแต่สิบสี่ปีขึ้นไป และ ไม่กำหนดสถานภาพ
(๓) ผู้เข้าเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่า ขึ้นไป
(๔) ผู้เข้าเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปวช. หรือเทียบเท่าขึ้นไป

ข้อ ๒๗ หลักฐานการรับสมัคร
(๑) หนังสือรับรอง
(๒) รบ.๑
(๓) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๔) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(๕) รูปถ่ายของผู้สมัคร ขนาด ๓x๔ เซนติเมตร จำนวน ๒ รูป
ข้อ ๒8 การจำหน่ายนักเรียน
(๑) เมื่อเรียนจบหลักสูตร
(๒) เมื่อสมัครใจลาออก
(๓) เมื่อนักเรียนประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของวิทยาลัยฯ ขั้นร้ายแรง

ข้อ 29 เวลาเรียน
(๑) เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. ถึงเวลา ๒๑.๐๐น.
(๒) จัดการเรียนการสอน ๒ รอบ รอบเช้า และ รอบบ่าย
- รอบเช้า เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๓.๕๐ น. ในวันจันทร์ – ศุกร์
- รอบบ่ายเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๔.๒๐ น. ถึงเวลา ๒๑.๐๐ น. ในวันจันทร์ – ศุกร์
หยุด วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ตามที่ราชการกำหนด
(๓) วันเปิด-ปิดภาคเรียน
ภาคเรียนที่ ๑ เปิดภาคเรียน วันที่ ๑๖ พฤษภาคม
ปิดภาคเรียน วันที่ ๑๑ ตุลาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิดภาคเรียน วันที่ ๑ พฤศจิกายน
ปิดภาคเรียน วันที่ ๓๑ มีนาคม
ภาคเรียนฤดูร้อน เปิดภาคเรียน วันที่ ๑ เมษายน
ปิดภาคเรียน วันที่ ๑๕ พฤษภาคม

ข้อ 30 วันหยุด หยุดวันเสาร์-วันอาทิตย์ วันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์

ข้อ 31 การแต่งกายของนักเรียนและนักศึกษา
(1) สำหรับนักศึกษา ชาย เสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงสีกรมท่าขายาว กระเป๋าข้างเจาะแนวตะเข็บ กระเป๋าหลังเจาะรู
๑ รู กระเป๋ากางเกงมีหู ๕ - ๗ หู รองเท้าหุ้มส้นสีดำ ถุงเท้าสีดำไม่มีลวดลาย เข็มขัดตราวิทยาลัยฯและผูกเนคไทสีน้ำเงิน
(2) สำหรับนักศึกษา หญิง เสื้อแขนสั้นสีขาวผ่าหน้า ติดกระดุมตราวิทยาลัยฯ
และติดเข็มเครื่องหมายวิทยาลัยฯ ด้านซ้าย ติดโบว์ กระโปรงจีบสีกรมท่า เข็มขัดตราวิทยาลัย และ สวมรองเท้าคัทชูสีดำ


หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน
วิทยาลัยเทคโนโลยีสมาร์ทพลัส ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ทั้ง รอบเช้าและรอบบ่าย โดยจัดการเรียนการสอนดังนี้

1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 รอบเช้าและรอบบ่าย
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานยานยนต์
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557 รอบเช้าและรอบบ่าย
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
๓.๑ ค่าธรรมเนียมการศึกษา (เป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยผ่าน
ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้วจัดทำเป็นประกาศของโรงเรียนติดไว้ในที่เปิดเผย) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา ๓,๕๐๐ บาท (สามพันห้าร้อยบาท) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ค่าธรรมเนียมการศึกษา ๙,๕๐๐ บาท (เก้าพันห้าร้อยบาท)
๓.๒ ค่าธรรมเนียมอื่น (เป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมอื่นโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้วจัดทำเป็นประกาศของโรงเรียนติดไว้ในที่เปิดเผย)
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ๑,๐๐๐ บาท
ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนจบ ๑,๐๐๐ บาท
ค่าคำร้องต่างๆไม่เกิน ๑๐๐ บาท

ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

ข้อ ๖ ทรัพย์สินของวิทยาลัยฯ เมื่อเริ่มแรก คือ
(๑) เงินสดจำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านบาทถ้วน)
(๒) ทรัพย์สินส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
- ที่ดินอันเป็นสถานที่ตั้งของวิทยาลัยฯ จำนวน ๒ ไร่ - งาน - ตารางวา
พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 3543 เล่มที่ 36 หน้าที่ 43
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ คิดเป็นมูลค่า ๓,๐๒๒,0๘0 บาท (สามล้านสองหมื่นสองพันแปดสิบบาทถ้วน)
- อาคารเรียน ๒ หลัง จำนวน ๑0 ห้อง
- อาคารอำนวยการ 1 หลัง จำนวน ๔ ห้อง
- อาคารประกอบ ๑ หลัง จำนวน ๒ ห้อง
- อาคารโรงอาหาร ๑ หลัง
- ห้องน้ำอาจารย์ ๑ หลัง
- ห้องน้ำนักเรียน แยกชายหญิง
- สนามกีฬา/กิจกรรม
คิดเป็นมูลค่า ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ล้านห้าแสนบาทถ้วน)
(๓) วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ของวิทยาลัยฯ รวมราคาทั้งหมด ๒,๐00,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน)
รวมราคาสินทรัพย์ทั้งหมด ๙,๕๒๒,๐๘๐ บาท (เก้าล้านห้าแสนสองหมื่นสองพันแปดสิบบาทถ้วน)

แผนที่วิทยาลัยฯ